วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-Government


 e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
             1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
             2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
             3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
             4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

            e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทําให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนํามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สําคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนําไปสู่การลดคอรัปชั่น
          e-government กับe-services มีความเกี่ยวพันกันมาก กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐาน ของe-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจําเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทําให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยน สารสนเทศกันได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสําคัญของการให้บริการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็ น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-government ไม่ใช่การดําเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทํางานของภาครัฐนั้นเอง
           หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชําระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดําเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
          เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดําเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชําระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐ ที่ดําเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดําเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทํางานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
           เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอํานวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทาอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนําเข้า การชําระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
            เป็นรูปแบบการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดย กระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดําเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทํางานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchan)  ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกบการทํางานในระบบเดิม

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
            เป็นการให้บริการที่จําเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จําเป็นในการปฏิบัติงานและการดํารงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมายและข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น





วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 E-marketing


E-Marketing ย่อมาจากคําว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดําเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด




E-Marketing Plan
วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทําE-marketing Plan เพื่อ
-Cost reduction and value chain efficiencies
-Revenue generation
-Channel partnership.
-Communications and branding








E-marketing planning
-การวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของกลยุทธ์การทําe –business 
-the SOSTAC™frameworkdeveloped by Paul Smith(1999) ซี่งสามารถสรุปขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
Situation –where are we now?
Objectives –where do we want to be?
Strategy –how do we get there?
Tactics –how exactly do we get there?
Action –what is our plan?
Control –did we get there?




ข้อดีของE-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
1.เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้ าหมายมากกว่า800 ล้านคน225 ประเทศ104 ภาษา
2.สามารถวัดผลได้แม่นยํากว่าสื่ออื่
3.ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่
4.จํานวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
5.คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่




เปรียบเทียบกันระหว่าง 2 โมเดล
Click & Clickข้อดี
-ต้นทุนต่ำ ใช้คนน้อย (คนเดียวก็ทําได้)
-เริ่มต้นได้ง่าย
-เปิดกว้างมากกว่า
-ไม่ต้องมีความชํานาญมาก ก็เริ่มทําได้
ข้อเสีย
-ขาดความชํานาญ
-สร้างฐานลูกค้าใหม่
-รองรับลูกค้า Online ได้อย่างเดียว
-ความน่าเชื่อถือน้อย
Click & Mortarข้อดี
-มีความเชี่ยวชาญ
-มีลูกค้าอยู่แล้ว
-น่าเชื่อถือ
-รองรับลูกค้าได้ online และOffline
ข้อเสีย
-ต้นทุนสูง ใช้คนมาก
-ใช้เวลาในการจัดทํา
-การทํางานต้องยึดติดกับบริษัท

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
1.กําหนดเป้าหมาย
2.ศึกษาคู่แข่ง
3.สร้างพันธมิตร
4.ติดตั้งอุปกรณ์ที่จําเป็น
5.ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์
วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
-จัดทําโฆษณาแบนเนอร์โฆษณาตามเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย
-แลกลิงค์กับเว็บอื่นๆ (เขียนเมล์ไปขอ) –Barter Banner
-ทํา Code สําหรับแจก-แลก Banner (ทํา Banner หลายๆ ขนาด)





รูปแบบของSearch Engine
-Natural Search EngineOptimization (SEO)
-Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)

Paid Search Advertising
           เป็นการโฆษณาแบบ จ่ายเงินเพือทําให้เว็บของคุณ แสดงเมื่อมีการค้นหาใน Key Word ที่คุณกําหนดไว้



E-Mail Marketing การตลาดผ่านอีเมล์
1.สร้าง Mail Marketing ของตัวเอง
2.ไปยืมรายชื่อคนอื่นๆส่งBlanketMail.com, Briefme.com, Colonize.com, MailCreations.com, TargetMails.com
3.ยิงมั่ว หรือ SPAM
4.ไปดูด Email จากแหล่งต่างwebsite, search engines, whois database,
Raid Marketing (การตลาดแบบจู่โจม)
ใช้คนเป็นจํานวนมากในการเข้าไป สร้างกระแสตามแหล่งต่างๆ ที่มีคนเยอะ
-chat rooms, forums, discussion groups etc around the world
-ใช้ความเป็น ส่วนตัวเข้าไปสร้างกระแสสังคมใน Virtual Community

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
ลงทะเบียนใน Web Directory, Search Engine
-ไปเขียนบทความที่อื่นๆ แล้วทํา link กลับมา
-มีบริการทดลองใช้ฟรี หรือ มีการรับรองผล
-แจ้งผู้เข้าเยี่ยมชมเมื่อ เว็บปรับปรุงใหม่
-ให้ดาวน์โหลด ฟรี.!
-ไปลงชื่อใน guest book ของเว็บอื่นๆ
-สร้างสิสันในเทศกาลต่างๆ ในเว็บไซต์


รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
1.ขายโฆษณาออนไลน์
2.ขายสินค้า E-Commerce
3.ขายบริการหรือสมาชิก
4.ขายข้อมูล (Content)
5.การจัดกิจกรรม, งาน
6.การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
7.การรับพัฒนาเว็บไซต์
ตัวอย่างโฆษณา Bannerแบบต่างๆ

6 Cs กับความสําเร็จของการทําเว็บ
1.Content(ข้อมูล)
2.Community(ชุมชน,สังคม)
3.Commerce(การค้าขาย)
4.Customization(การปรับให้เหมาะสม)
5.Communication, Channel (การสือสารและช่องทาง)
6.Convenience(ความสะดวกสบาย)







วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 7 Supply Chain Management , ERP, CRM

Supply Chain Management

ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers,manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน





ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
การกําเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชนกล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่งลําเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกําลังบํารุงของทหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กําหนดอย่างถูกต้องตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด
ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นํามาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที'ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Beseline Organization)
ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)


การบริหารจัดการซัพพลายเซน
เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสําคัญองค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆจะต้องพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1.ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supplymanagement interface capabilities)
2.ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า(Demand-management interface capabilities)
3.ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ(Information management capabilities)

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเซน
1. ปัญหาจากการพยากรณ์
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
3. ปัญหาด้านคุณภาพ
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
6. ปัญหาจากลูกค้า

Bullehip Effect
คือปัญหาที'เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกนํามาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง



เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเซน
เทคโนโลยีช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพนั้น กล่าวกันว่ามีองค์ประกอบที่สําคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที'มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Demand management) ให้ใกล้เคียงความจริงมากที'สุด

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดําเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทําธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์

การใช้บาร์โค้ด (Barcode)

บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที'อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที'มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทําหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า


การเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที'มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที'มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

การใช้ซอฟต์แวร์ Application SCM
การนําซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทําหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า

ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan



The Minor Group
 
                  นายวิลเลียม อี. ไฮเนคกี้
การทําธุรกิจโอกาสมีอยู่ทุกที่ แต่ต้องสร้างการแข่งขันและหาโอกาสที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่มองว่า ทําอะไรก็ได้ เพราะมันไม่ง่ายอย่างที่คิด
ก่อนจะเป็น เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป
เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2520 จากการทําธุรกิจเทรดดิ้ง ขายอุตสาหกรรม หลังจากนั้น นายวิลลเลียม อี. ไฮเนคกี้ ผู้ก่อตังและประธานของเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป ได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจฟาสต์ฟูดในปี 2551 เริ่มจากเชนร้านไอศครีมชื่อ ศาลาโฟร์โมสต์ มิสเตอร์โดนัท และพิซซ่า ฮัท พร้อมกับการผลิตสินค้าอุตสาหกกรมและการส่งออก และธุรกิจโรงแรม
แต่มาโด่งดังและประสบความสําเร็จสูงสุดจากการเปิดตัวแฟรนไชส์ ร้านพิซซ่า ฮัท แห่งแรกที่พัทยา เมื่อประมาณ 25-26 ปีก่อน จากนั้นมากิจการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถขายเครือข่ายได้มากกว่า 100 แห่ง

การลงทุนในด้านอื่นๆ
ไมเนอร์ กรุ๊ป ยังได้ลงทุนในโรงงานเสริมธุรกิจอาหาร คือลงทุนในโรงงานผลิตชีส ที(ประกอบด้วย บจก.ไมเนอร์ แดรี่ฯ และบจก.ไมเนอร์ ชีสฯ เพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับธุรกิจอาหารและส่งออกไปต่างประเทศด้วย ทําให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิต




และสุดท้าย ไมเนอร์ กรุ๊ป   ยังทําธุรกิจจัดจําหน่ายสินค้าอุปโภค ภายใต้ชื่อ บมจ.ไมเนอร์
คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจัดเป็นบริษัทชันนํารายหนึ่งของวงการ โดยนําสินค้าที่นําเข้ามาทําตลาดล้วนเป็นแบรนด์เนมมีชื่อ ด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าแฟชั่น จะมีแบรนด์ เอสปรี, บอสสินี, ทิมเบอร์แลนด์, ชาลร์ส แอนด์ คีท,
กระเป๋าทูมี่

ส่วนรายได้ของกลุ่ม ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่นนั้น มาจากธุรกิจค้าปลีกเป็นหลัก ได้แก่ เครื่องสําอางค์ สินค้าแฟชั่น คิดเป็น 52% ของรายได้, กลุ่มรับจ้างผลิต คิดเป็น 42% และอีก 6% เป็นธุรกิจอื่นๆ



 โดยระบบที่เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป นํามาใช้ในการจัดการซัพพลายเชน จะประกอบไปด้วยระบบหลักๆ 4 อย่างคือ
1. ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
2. ระบบ POS (Point of Sale)
3. ระบบ Barcode
4. ระบบ CRM (Customer Relationship Management)